Translate

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เผย 15 จุดเสี่ยง น้ำท่วม กรุงเทพฯ ชั้นใน

นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพ มหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ระดับแม่น้ำเจ้าพระยา (7 ต.ค.) วัดได้ที่ 1.97 เมตร ยังถือว่าพอรับมือไหว แต่หากระดับน้ำสูงเกินจากแนวคันกั้นน้ำที่ กทม.สร้างไว้สูง 2.50 เมตร บวกกับปริมาณน้ำที่ไหลมาจากน้ำเหนือและน้ำทะเลหนุนสูง กทม.ก็จะเสี่ยงต่อปัญหาน้ำท่วมในเขตรอบนอกทั้งฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะทำเลริมเจ้าพระยาประมาณ 28 ตร.ก.ม. ซึ่งมีบ้านพักอาศัย 80,000 หลังคาเรือน

ส่วนฝั่งตะวันออกในพื้นที่ 300 ตร.ก.ม.น่าห่วงสุด เพราะเป็นพื้นที่นอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ มี 4 เขต คือคลองสามวา หนองจอก มีนบุรี และลาดกระบัง ซึ่งมีคนอาศัยอยู่หลายหมื่นครัวเรือนเช่นกัน
สำหรับ พื้นที่ชั้นใน กทม.จากการสำรวจพบว่า มี 15 พื้นที่เป็นจุดอ่อนและเสี่ยงต่อน้ำท่วม หากน้ำฝน น้ำเหนือ และน้ำทะเลหนุน ก็เสี่ยงจะเกิดน้ำท่วมได้ เพราะกรุงเทพฯเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ ง่ายต่อน้ำท่วมขัง ได้แก่
1)เขตสาทร ย่านถนนจันทร์ เซนต์หลุยส์ สาธุประดิษฐ์
2)เขตพญาไท ถนนพหลโยธิน ช่วงคลองสามเสน-คลองบางซื่อ
3)เขตพระโขนง ถนนสุขุมวิท จากคลองพระโขนง-ซอยลาซาล
4)เขตวัฒนา ซอยสุขุมวิท 39 และ 49
5)เขตวังทองหลาง ถนนลาดพร้าว จากคลองลาดพร้าว-ห้างเดอะมอลล์
6)เขตบึงกุ่ม ถนนนวมินทร์ จากคลองดอนอีกา-แยกถนนประเสริฐมนูกิจทั้งสองฝั่ง
7)เขตดินแดง ถนนรัชดาภิเษก หน้าห้างโรบินสัน
8)เขตจตุจักร ถนนรัชดาภิเษก แยกลาดพร้าว
9)เขตราชเทวี ถนนเพชรบุรี จากถนนบรรทัดทอง-แยกราชเทวี
10)เขตราชเทวี ถนนนิคมมักกะสัน
11)เขตราชเทวี ถนนพระรามที่ 6 หน้าตลาดประแจจีน
12)เขตบางแค ถนนเพชรเกษม ซอย 63 (ซอยวัดม่วง)
13)เขตยานนาวา ถนนเย็นอากาศ จากถนนนางลิ้นจี่- ซอยศรีบำเพ็ญ
14)เขตประเวศ ถนน ศรีนครินทร์ ช่วงคลองตาสาด-คลองตาช้าง
15)เขตพระนคร ถนนสนามไชยและถนนมหาราช

นาย สัญญากล่าวว่า ปัจจุบัน กทม.เตรียมรับมือเต็มที่ เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำตลอด 24 ช.ม. ล่าสุดซื้อกระสอบทรายเพิ่มอีก 1.5 ล้านถุง นอกจากนี้ยังได้ขุดลอกคลองให้ระบายน้ำได้เร็วขึ้น ดูแลประตูระบายน้ำ เครื่องสูบน้ำ สถานีสูบน้ำ รวมถึงประสานงานกับกรมชลประทานช่วยบริหารจัดการน้ำผ่านคลองและอุโมงค์ลงสู่ ทะเล
Mthai News

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น